** FACEBOOK **
ความรู้สาระทั่วไปสำหรับ รปภ, ยาม บริษัทรปภ. บริษัทรักษาความปลอดภัย ตอนที่ 3
-แรงงาน รปภ. พนักงานรปภ. พนักงานรักษาความปลอดภัยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
1.รปภ. พนักงาน รปภ. ประกอบอาชีพ รปภ.ประจำหาเลี้ยงชีพ ซึ่ง รปภ. กลุ่มนี้มีความสามารถ ทักษะเฉพาะงาน รปภ. ประกอบอาชีพเป็นรายได้หลักหาเลี้ยงครอบครัว จากรายได้พนักงาน รปภ. ตามเงินเดือนที่ได้รับ
2.รปภ. พนักงาน รปภ. ประกอบอาชีพ ซึ่งตามฤดูกาล ซึ่งรปภ. กลุ่มนี้มีอาชีพประจำจากการทำการเกษตรจากต่างจังหวัด พอหมดฤดูทำเกษตร ก็จะมาประกอบอาชีพ รปภ. เพื่อหารายได้เสริมเลี้ยงครอบครัว หรือนักศึกษา ซึ่งเรียนระดับมหาวิทยาลัย ที่ทำงานเพื่อหารายได้ในการศึกษา ซึ่งอนาคตกลุ่มคนแรงงานกลุ่มนี้จะประกอบอาชีพ รปภ. ไม่ได้ เนื่องจากมีกฎหมายออกมาบังคับต้องเป็นผู้มีใบอนุญาตทำงาน รปภ.
-รปภ. บริษัทรปภ. บริษัทรักษาความปลอดภัย กับการเทียบคุณวุฒิการศึกษา
ตามที่มี พ.ร.บ. ธุรกิจรักษาความปลอดภัยบังคับใช้ ทำให้ผู้ที่ต้องการประกอบอาชีพ พนักงานรักษาความปลอดภัย ต้องจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ ม.3 ในปัจจุบัน ทำให้เกิดปัญหาให้ผู้ประกอบอาชีพ รปภ. ในปัจจุบัน ตกงานจำนวนมาก ทางหน่วยงานภาครัฐ จึงหาวิธีช่วยเหลือหลากหลายวิธี ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการเทียบวุฒิตามคุณวุฒิวิชาชีพ ซึ่งมีระดับต่างๆ ตามสายบังคับบัญชาและจากประสบการณ์ จากการทำงานในอาชีพ รปภ. จึงทำให้สามารถเทียบโอนเทียบเท่าเสมือนวุฒิการศึกษา ซึ่งจะมีประโยชน์ในอนาคตต่อพนักงาน รปภ. และบริษัทรักษาความปลอดภัย
-บริษัทรักษาความปลอดภัย รปภ. บริษัท รปภ. กับสายบังคับบัญชาเบื้องต้น ของพนักงาน รปภ.
พนักงานรักษาความปลอดภัย กับสายบังคับบัญชาเบื้องต้นในการประกอบอาชีพ รปภ.ของพนักงานรักษาความปลอดภัยต้องมีการอบรมความรู้เกี่ยวกับสายบังคับบัญชาเบื้องต้น ตามลักษณะงาน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานขนาดเล็ก หรือใหญ่ ซึ่งมีความสำคัญตามลำดับ ประกอบด้วยบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น รปภ.หัวหน้า รปภ.ผู้จัดการหน่วยงาน สายตรวจรปภ.บริษัทรปภ.และผู้ว่าจ้างรปภ.ซึ่งมีผลต่อการสั่งงาน และการแก้ไขปัญหาสถานการเฉพาะหน้า
-รปภ.บริษัทรปภ. บริษัทรักษาความปลอดภัย พนักงานรักษาความปลอดภัยกับระยะเวลาในการยื่นขึ้นทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่
รปภ. บริษัท รปภ. บริษัทรักษาความปลอดภัย กับการยื่นขึ้นทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ตาม พรบ. ธุรกิจรักษาความปลอดภัย 2558 โดยแบ่งออกเป็นส่วนของบริษัทรักษาความปลอดภัย และเจ้าหน้าทีรักษาความปลอดภัยตามระยะเวลาของกฎหมายดังต่อไปนี้ หลังวันที่ 4 มีนาคม 2559 มีผลบังคับใช้
- บริษัท รปภ. บริษัทรักษาความปลอดภัย
บริษัทรักษาความปลอดภัย ทุกบริษัทต้องยื่นเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อบริษัท จากกระทรวงพาณิชย์ และยื่นขึ้นทะเบียนกลางภายใน 120 วัน หรือไม่เกินวันที่ 1 กรกฎาคม 2559 ซึ่งช่วงระยะเวลาดังกล่าวยังไม่ถือว่าผิดกฎหมาย
- รปภ. พนักงานรักษาความปลอดภัย
บริษัทรักษาความปลอดภัยทุกบริษัท ต้องยื่นขึ้นทะเบียนพนักงานในสังกัดต่อนายทะเบียนภายใน 90 วัน หรือไม่เกินวันที่ 1 มิถุนายน 2559 ซึ่งมีความสำคัญเพราะการขึ้นทะเบียนรอบแรกมีข้อยกเว้นในเรื่อง วุฒิการศึกษาและการฝึกอบรม มีระยะเวลา 3 ปี ซึ่งช่วงระยะก่อนถึงกำหนดขึ้นทะเบียนยังไม่ถือว่าผิดกฎหมาย
-ผลกระทบต่อรปภ. พนักงานรักษาความปลอดภัย บริษัทรักษาความปลอดภัย กับ พรบ.รปภ.และกฎหมายใหม่ที่บังคับใช้กับบริษัทรักษาความปลอดภัย
วันที่ 1 มีนาคม 2559 เริ่มบังคับใช้กฎหมาย พรบ. ธุรกิจรักษาความปลอดภัยซึ่งควบคุมบริษัทรักษาความปลอดภัยและพนักงานรักษาความปลอดภัยในสังกัดจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงาน ซึ่งเกิดผลกระทบทำให้พนักงาน รปภ. บางรายอาจจะประกอบอาชีพรักษาความปลอดภัยต่อไปไม่ได้ และตกงาน ซึ่งกฎหมายดังกล่าว บุคคลที่จะเป็นพนักงาน รปภ. ต้องจบวุฒิ ม.3 อย่างน้อย ไม่มีประวัติอาชญากรรมใดๆ ทั้งสิ้น ยกเว้นความผิดลหุโทษ มีสัญชาติไทยเท่านั้น และมีบัตรประจำตัวพนักงาน รปภ. ซึ่งมีราคา 1,000 บาท จึงเห็นได้ว่า รปภ.จะไม่สามารถมาทำอาชีพ รปภ.ได้ และหายไปจำนวนไม่น้อย และถ้าไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษทั้งจำทั้งปรับ
ส่วนผลกระทบต่อ บริษัทรปภ. บริษัทรักษาความปลอดภัยจาก พรบ. ดังกล่าวจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ หรือตั๋วซึ่งราคาใบละ 50,000 บาท และต้องขึ้นทะเบียนต่อตำรวจซึ่งใช้กฎหมายดังกล่าวมีโทษถ้าไม่ปฏิบัติตาม ทั้งจำทั้งปรับ จึงทำให้บริษัทรปภ.ขนาดเล็กๆ ปิดตัวลงจำนวนมากเหลือแต่บริษัทใหญ่ ซึ่งเป็นผลกระทบทางอ้อมกับผู้ว่าจ้าง ต้องจ้างบริษัทขนาดใหญ่ที่มีราคาว่าจ้างสูง ซึ่งผู้ว่าจ้างก็ไม่สามารถจ้างรปภ.ได้เองจากข้อบังคับของพรบ.ฉบับนี้ ซึ่งผลกระทบดังกล่าวอาจส่งกระทบอย่างมากก็ได้จากบริษัทรปภ. กว่า 4,000 บริษัท และรปภ.จำนวนกว่า 400,000 คน ในปัจจุบันที่ไม่สามารถทำอาชีพรปภ.ได้